เพื่อนแท้งานช่าง

หลอดไฟมีกี่ประเภท ประเภทหลอดไฟมีกี่แบบ และ อายุการใช้งานหลอดไฟ

หลอดไฟมีกี่ประเภท และ อายุการใช้งานหลอดไฟแต่ละประเภท

ทุกวันนี้เรามีหลอดไฟอยู่ทั้งหมด 7 ประเภท ในแต่ละประเภทก็จะมีอายุการใช้งานที่มากและน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและการใช้งาน

หลอดไฟประเภทดั้งเดิม ที่นิยมใช้กัน ถึงราคาจะถูก แต่อายุการใช้งานน้อย ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย

จนมาถึงทุกวันนี้ หลอดไฟที่คนนิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ หลอดไฟ LED 

วันนี้เราก็จะพาไปรู้จักประเภทของหลอดไฟกันว่ามีประเภทไหนบ้าง และอายุการใช้งานของหลอดไฟว่ามีความต่างกันขนาดไหน

หลอดไฟมีกี่ประเภท และประเภทต้องรู้จักไหม และสิ่งที่ต้องควรรู้

จำเป็นไหม ที่ต้องรู้จักประเภทของหลอดไฟ

ปัจจุบันมีเรามีหลอดไฟอยู่ด้วยกันหลายประเภท ลักษณะเฉพาะแต่ละประเภท ก็มีข้อแตกต่างทั้ง สี กำลังวัตต์ หรือความสว่าง ซึ่งอาจจะทำให้เราสับสนได้

แต่ถ้าเรารู้จักหลอดไฟแต่ละประเภท จะช่วยให้ง่ายต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้หลอดไฟให้เหมาะสม ตามห้อง ตามการใช้งาน แถมยังช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเปลี่ยนหลอดไฟเมื่อถึงอายุ ช่วยประหยัดไฟ และยังช่วยถนอมสายตาเราอีกด้วย

7 ประเภทของหลอดไฟ

Light Bulb หรือ หลอดไฟ ที่เรารู้จักกันมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทกว่าที่เรารู้จัก เพราะนอกจากความใหม่ หรือความเก่าของค่านิยมในการใช้ (หลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่ถูกเปลี่ยนมาใช้ LED กันส่วนใหญ่)

หลอดไฟบางประเภทจะให้ค่าความสว่างที่มากเกิน ซึ่งค่าที่มากเกินจะทำให้รบกวนหรือทำให้เราไม่สบายตาในการอยู่ในสถานที่นั้น เช่น IEQ (Indoor Environment Quality) Visual comfort ที่ค่า Lux หรือค่าแสง อาจจะสูงมากเกินไป จนทำให้แสบตา ดังนั้น หลอดไฟแต่ละประเภท ก็จะตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกัน

1. หลอดไส้ (Incandescent Lamp) หรือ หลอดดวงเทียน 

เป็นหลอดไฟที่มีการใช้งานมานาน หลอดนี้จะมีแสงแดง ๆ คล้ายกับแสงเทียน มีทั้งแบบแก้ว และฝ้า ให้ความร้อนสูงถึง 100 – 400 องศาเซลเซียส แต่มีประสิทธิภาพในการส่องสว่างเเค่ 10-15 Im/W เมื่อความร้อนสูงมากแต่การส่องสว่างต่ำ อาจเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ รวมทั้งยังมีการกินไฟมาก

การใช้งานของหลอดไส้ (Incandescent Lamp)

  • ติดตั้งตามที่อยู่อาศัย
  • โคมไฟ เช่น โคมไฟติดผนัง
Incandescent Lamp bulb

2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent tube) หรือ หลอดนีออน

หลอดไฟทรงยาว เห็นได้ทั่วไปในที่พักหรือสำนักงาน ให้ความสว่างมากกว่าหลอดไส้ถึง 5 เท่า  หลอดชนิดนี้เชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าโดยตรงไม่ได้เพราะหลอดไส้จะขาดทันทีที่มีกระแสไฟฟ้า ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น คือสตาร์ตเตอร์ และบัลลาสต์ 

การใช้งานของฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent tube)

  • ใช้ติดทั่วไปในที่อยู่อาศัย
  • โกดังสินค้า, โรงงาน
Fluorescent tube or neon bulb

หรือ หลอดตะเกียบ ที่เรารู้จักกัน เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็ก มีขนาดที่กระทัดรัด ความสว่างสูง ประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้ถึง 4 เท่า ทำให้มีอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้น มีทั้งแบบที่มีบัลลาสต์อยู่ในตัวและแบบอยู่ภายนอก

โดยหากเรามองด้วยข้อมูล หรือการใช้งานคร่าวๆ เราก็จะเห็นกันได้แล้วว่า Compact Fluorescent ว่ามีอายุการใช้งานที่มากกว่า ถึง 10 เท่า และยังมีตัวเลือกที่มากกว่า เช่น ค่าแสง และ W ที่ต่ำลงมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน

อย่าง หลอดไฟ Compact Fluorescent ของ LAMPTAN ที่มาเป็นแพ็คคู่ สามารถเลือกรูปแบบได้ทั้งหลอดตะเกียบและหลอดเกลียว มาพร้อม 2 โทนสีที่เลือกได้ทั้ง Day light และ Warm white และ อายุการใช้งาน 8,000-10,000 ชม.

  • ที่อยู่อาศัย 
  • ติดตั้งในโรงงาน 
  • โคมไฟ  เช่น โคมไฟติดผนัง

4. หลอดฮาโลเจน (Halogen)

ถูกพัฒนามาจากหลอดไส้ เป็นหลอดไฟที่บรรจุก๊าซฮาโลเจน อยู่ภายใน ทำให้มีความทนทานกว่าหลอดไส้ทั่วไป จึงมีอายุการใช้งานที่นานกว่าหลอดไฟชนิดอื่น แสงที่สว่างออกมามีความถูกต้องของสีมากที่สุด นิยมใช้กับพื้นที่ที่ต้องการแสงความสว่าง ที่ปรับระดับได้เป็นพิเศษ หรือการให้ความสว่างเฉพาะจุด

การใช้งานของหลอดฮาโลเจน (Halogen)

  • ในพื้นที่ที่ต้องการความสว่างเฉพาะจุด เช่น ในตู้แสดงสินค้า

  • หลอดไฟฮาโลเจน สามารถปรับความสว่างได้ หรือ ไฟ Dimmer สามารถติดตั้งได้ในห้องที่ต้องการปรับไฟ

Halogen bulb

5. หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal halide)

หลอดไฟ ที่มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพแสงมาก ด้วยค่าความสว่างที่สูงมากๆ หลอดไฟชนิดนี้ทำงานใต้ความดันและอุณหภูมิสูง ได้อย่างดี ส่วนใหญ่จะใช้ส่องเพื่อให้เกิดความสวยงาม

การใช้งานของ หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal halide)

  • ไฟสปอร์ตไลท์ (Spotlight) ในสนามกีฬา และภายนอก
  • ไฟใน Studio บางประเภท สำหรับถ่ายภาพ
Metal halide

6. หลอดแสงจันทร์ หรือ หลอดไฟไอปรอท

หลอดไฟ ชนิดนี้ทำงานด้วยการปล่อยประจุความเข้มข้นสูง มีค่าความถูกต้องของสีต่ำ มีปริมาณ แสงต่อวัตต์สูง ทำให้ส่องได้ไกล เหมาะกับงานสนาม โดยมีทั้งแบบใช้บัลลาสต์และไม่ใช่บัลลาสต์ แต่แบบที่ไม่ใช่บัลลาสต์จะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า

การใช้งานของหลอดแสงจันทร์

  • หลอดไฟถนน
  • ไฟข้างทาง
  • เสาไฟ ตามพื้นที่สาธารณะทั่วไป

 

Mercury lamp bulb

หลอดไฟ ชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากใช้วัตต์น้อยแต่ให้แสงสว่างที่มาก หลอดไฟนี้ลดจุดด้อยของหลอดไฟอื่น ทั้งถนอมสายตา เพราะไม่ปล่อยรังสี UV หรือก๊าซอันตรายออกมา ทำให้สบายตากว่าและประหยัดไฟถึง 70% จากหลอดไฟชนิดอื่น

  ** หรือ บางรุ่นอย่าง LED Light bulb ของ LAMPTAN ที่เพิ่มการประหยัดไฟได้ถึง 85% และ เป็นหนึ่งในแบรนด์ ที่หลอดไฟ LED สามารถป้องกันไฟตก ด้วยระบบ Surge Protection ได้ถึง 500V

  • ในบ้านและนอกบ้าน
  • โรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์
Lifespan of light bulb

แต่ละประเภท อายุการใช้งานหลอดไฟจะไม่เท่ากัน

นอกจากค่าของความสว่างของหลอดไฟแล้ว หลอดไฟยังถูกแบ่งประเภทออกตาม อายุการใช้งานเช่นเดียวกัน และการที่หลอด LED มาได้รับความนิยม นอกจากการประหยัดไฟที่สูง หรือการไม่แผ่ความร้อนออกมา (ไม่ปล่อยรังสี UV) หลอด LED จะมีอายุการใช้งานที่สูงถึง 50,000 ชม.

ตารางเปรียบเทียบอายุการใช้งาน

ชนิดหลอดไฟอายุการใช้งาน
หลอดไส้750 ชั่วโมง
หลอดฟลูออเรสเซนต์ 6,000 – 20,000 ชั่วโมง
หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์8,000 – 10,000 ชั่วโมง
หลอดฮาโลเจน1,500 – 3,000 ชั่วโมง
หลอดเมทัลฮาไลด์24,000 ชั่วโมง
หลอดแสงจันทร์24,000 ชั่วโมง
หลอด LED50,000 ชั่วโมง

เลือกหลอดไฟ ให้ถูกประเภทตามการใช้งาน

เราเชื่อว่าคุณคงไม่อยากติดหลอดไฟโกดัง Warehouse ในห้องนอน เพราะหลอดไฟแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติที่ต่างกันตามการใช้งาน จุดประสงค์ของแต่ละประเภท

นอกจากจะต้องคำนึงถึงประเภทของหลอดไฟแล้วยังต้องดูอายุการใช้งาน และกำลังวัตต์ด้วย

เมื่อเรารู้คุณสมบัติของหลอดไฟแล้วก็จะเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและประหยัดไฟอีกด้วย…

Palm Natcha Poonpradit Content SEO writer
Natcha Poonpradit

ส่วนนึงของชีวิต ได้เริ่มต้นขึ้นในวัยที่อายุ 20+ ชีวิตที่ผ่านการเรียนรู้มาบ้าง ไม่ว่าจากในห้องเรียน ในที่ทำงาน ได้รับรู้ว่าอะไรคือแรงผลักดัน แรงขับเคลื่อนของชีวิต ได้มองเห็นชัดขึ้นว่าอะไรสำคัญในชีวิต ได้เกิดความคิดต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะลบจะบวก ชีวิตก็เติบโตขึ้นในทุกวัน…แต่ก็ยังมีหนึ่งคำถามที่มักจะตอบยากขึ้นไปในทุกๆปี

“ถ้าเราย้อนเวลากลับไปได้ เราจะบอกอะไร กับตัวเราตอนเด็กๆได้ “

เลือกทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ทำตามความฝันของตัวเองนะ

Share: